อันดับที่ 10 ได้แก่ Sylvia Plath Sylvia Plath เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่เมือง Boston รัฐ Massachusettes ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตร ของนาย Otto และนาง Aurelia Schoeber Plath เธอใช้ชีวิตในวัยเด็ก ณ เมือง Winthrop บิดาเป็นอาจารย์ สอนวิชา ภาษาเยอรมัน และ กีฏวิทยา ( เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องของผึ้ง ) ที่มหาวิทยาลัย Boston และมารดาเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนมัธยมปลายทั้งบิดาและมารดาของ Plath ได้เห็นความสำคัญทางด้านการศึกษามาก เมื่อ เธออายุได้ 8 ปี บิดา ของเธอก็ได้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน จานนั้นแม่ของเธอจึงย้ายครอบครัวไปที่เมือง Wellesley เธอได้สนใจทางด้าน การเขียน และ ศิลปะ ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย และที่ Smith College เธอได้รับทุนการศึกษาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยนี้ด้วย ความสามารถทางการเขียนกลอนและหนังสือทำให้เธอถูกเลือกเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้จัดทำนิตยสารชื่อว่า Mademoiselle ในปี ค.ศ. 1953 ในช่วงที่เธอศึกษาอยู่ชั้นปีที่3 ของมหาวิทยาลัยนี้ เป็นช่วงที่เธอทำงานอย่างหนัก และมีปัญหาทางครอบครัว แม่ของเธอจึงพาเธอไปบำบัด และ เธอได้รับการช็อตด้วยไฟฟ้า จนในวันหนึ่งในปี ค.ศ. 1953 เธอพยายามจะฆ่าตัวตายด้วยการกินยานอนหลับเกินขนาด เวลา 6 เดือนที่ได้รับการรักษาและดูแลในโรงพยาบาลก็ทำให้เธอกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เธอก็ยังไม่หายจากโรคนี้ และหลังจากนั้น เธอก็กลับมาศึกษาต่อ และ ในปี ค.ศ. 1955 เธอก็ได้รับทุน Fullbright ไปศึกษาต่อที่ Cambridge University ประเทศ อังกฤษ และที่นี่เองเธอก็ได้พบกับ Ted Hughes และได้จด ทะเบียนสมรสกันในเดือน มิถุนายน ปี ค.ศ.1956 ทั้ง 2 คนได้ใช้ชีวิตในช่วง ปีของการแต่งงานอุทิศให้กับการเขียน เธอได้อุทิศตนเองช่วยสามีอย่างเต็มที่จำทำให้สามีของเธอได้รับชื่อเสียงอย่างมากมาย พวกเขาได้อาศัยอยู่ที่ Massachusetts และ London และ Devon เธอมีลูกสาว ชื่อ Frieda เกิดในเดือน เมษายน 1960 และลูกชายชื่อNicholas เกิดในเดือน มกราคม 1962
อันดับที่ 9 ได้แก่ William Carlos Williams วิลเลียม คาร์โลส วิลเลียมส์ (William Carlos Williams) เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1883 ที่เมืองรัทเธอร์ฟอร์ด (Rutherford) มลรัฐนิวเจอร์เซีย ได้รับการศึกษาชั้นประถมที่รัทเธอร์ฟอร์ด ในระหว่างปี ค.ศ. 1889-1896 จากนั้นก็เข้าเรียนที่ Chateau de Lancy ใกล้เจนีวา และ Lycee Condorcet ในกรุงปารีสในช่วงปี ค.ศ. 1899 ในเมื่อครอบครัวอพยพกลับอเมริกาก็ได้เข้าเรียนที่ Horace Mann School ในนิวยอร์กจนกระทั่งอายุได้ 19 ปี จึงได้เข้า ศึกษาวิชาทันตแพทยศาสตร์ แล้วเปลี่ยนเป็นศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1906 ในขณะศึกษาวิลเลียมส์ทุ่มเทชีวิตส่วนหนึ่งให้แก่การเขียนบทร้อยกรองในขณะที่รู้จักเป็นมิตรกับ เอซรา พาวนด์ ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาโททางวรรณคดีอยู่ในขณะนั้น และคุ้นเคยกับเอช ดี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่บรินมอร์หลังจากจบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ วิลเลียมส์ก็ได้มีโอกาสไปฝึกงานในฐานะแพทย์ฝึกหัดอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1906-1909 ใน โรงพยาบาลฝรั่งเศสและโรงพยาบาลเด็กในนิวยอร์ก จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1909-1910 ได้เดินทางไปศึกษาต่อทางวิชากุมารศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยไลป์ซิก (University of Leipzig) ในเยอรมนี ขณะท่องเที่ยวอยู่ในยุโรปวิลเลียมส์ได้มีโอกาสพบพา วนด์อีกครั้งหนึ่งในกรุงลอนดอน ในยามนั้นพาวนด์กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้นำกลุ่มกวีหน้าใหม่ ในการเขียนแบบงานทดลองและการใช้ลัทธิอิเมจิสต์ในงานร้อยกรอง แม้ว่าพาวนด์จะได้นำบทร้อยกรองของวิลเลียมส์ลงตีพิมพ์ในบทคัดย่อขอ งกวีเอิเมจิสต์ในระยะแรก ๆ ด้วยเช่นกัน แต่วิลเลียมส์ก็ได้แสดงให้เห็นความสามารถส่วนตัวของเขา ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกเหนือกวีอื่นใด ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1909 วิลเลียมส์ก็ได้จัดพิมพ์งานรวมชุด Poems ด้วยทุนส่วนตัว ในปี ค.ศ. 1912 หลังจากได้เริ่ม อาชีพเป็นแพทย์ได้สองปี วิลเลียมส์ก็แต่งงานกับฟลอเรนซ์ เฮอร์แมน (Folrence Herman) ธิดาของตระกูลเฮอร์แมนที่มั่งคั่งในท้องถิ่นนิวเจอร์ซีย์ กล่าวได้ว่า “ฟลอสซี่” (Flossie) ผู้นี้คือกำลังใจและคือจินตนาการให้วิลเลียมส์ได้เขียนบทโคลงมาก มายหลายบท และก็เป็นที่เชื่อได้ว่ามิสซิสวิลเลียมส์คือภาพตัวแทนของสุภาพสตรีลักษณะร่าเริงแจ่มใสดังที่ปรากฎในบทร้อยกรองเป็นจำนวนมากของวิลเลียมส์ในระยะหลัง ในปี ค.ศ. 1909 วิลเลียมส์ได้จัดพิมพ์ผลงานชุดแรกคือ Poems 1909 งาน ชุดนี้ได้รับอิทธิพลจาก วอล์ท วิทแมน กวีอเมริกัน และ จอห์น คีตส์ กวีอังกฤษแนวโรแมนติกอยู่มิใช่น้อย ในงานเขียนเรื่อง William Carlos Williams (ค.ศ. 1980) Vivienne Koch ผู้เขียนได้วิเคราะห์ไว้อย่างละเอียดว่าวิลเลียมส์ได้รับอิทธิพลในการ เขียนบทร้อยกรองชุด Poems 1909 จากกวีอังกฤษซึ่งหมายรวมถึง คีตส์ เชลลีย์ ไบรอน สเปนเซอร์ ชอเซอร์ มาร์โลว์ และจากนักเขียนบทละคร เช่น ซิงจ์ และเช็คสเปียร์ “The Great Figure” คือตัวอย่างที่ดีที่สุดของบทร้อยกรองที่เปรียบได้ดังภาพ วาดด้วยอักษรตามแนวการเขียนที่วิลเลียมส์เน้นเฉพาะ แสง สี รูปร่าง การเคลื่อนไหว และเสียงในเบื้องแรก จากนั้นก็ค่อย ๆ เผยให้เห็นรายละเอียดที่แอบซ่อนอยู่ในฉากความมืด และจัดรายละเอียดทั้งหมดให้อยู่ในกรอบ ก่อนที่จะเลือนหายไปใน ความมืด ต่อมา จิตรกรชาร์สลส์ ดีมุธ (Charles Demuth, 1883-1925) ได้วาดภาพที่ให้ชื่อว่า I Saw the Figure 5 in Gold เสริมความหมายให้บทโคลง “The Great Figure” นี้ นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 1913 วิลเลียมส์ก็ได้จัดพิมพ์งานรวมชุดครั้งที่สอง คือ “The Tempers” ในกรุงลอนดอน โดยได้รับการสนับสนุนจากพาวนด์ ในขณะนั้น พาวนด์ได้แสดงหลักการลัทธิอิเมจิสต์ไว้อย่างเต็มที่แล้ว บทโคลงที่นับว่าดีที่สุดในชุด The Tempers ดังเช่น “Peace on Earth” “Proof Immortality” และ “Homage” รวมทั้ง “Lullaby” เปรียบได้ดังบทเพลง ในภาพรวม บทโครงส่วนใหญ่ในงานชุดนี้กล่าวถึงเรื่องราวความรัก และแม้จะเต็มไปด้วยการแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เร้าร้อนแต่เนื้อความเรียบง่ายเช่นเดียวกับบทโคลงที่วิลเลียมส์เขียนในระยะหลัง
อันดับที่ 8 ได้แก่ Edward Estlin cummings Edward Estlin cummings ถูกเรียกว่า "EE cummings" เป็นหนึ่งในกวีชาวอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และบทกวีของเขาเป็นกวีที่มีอิทธิพลอย่างมาก ตลอดชีวิตของเขาเขียนบทกวีมากกว่า 2900 บท และนอกเหนือจากบทกวี เขายังเขียนบทละครและนวนิยายที่มีชื่อเสียงมาก เขาเกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1894 และเสียชีวิตวันที่ 3 กันยายน 1963
อันดับที่ 7 ได้แก่ Walt Whitman เกิดเมื่อปี ค.ศ 1819 ในเมืองซึ่งปัจจุบันคือ เมือง South Huntington มลรัฐ Long Island และหลังจากนั้นเขาก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ City of Brooklyn และเขาก็ได้รับการศึกษา ที่ grammar School of Brooklyn ต่อมาเขาก็ ได้ทำงานแรกคือ ช่างพิมพ์ ให้กับ Long Island Patriot และต่อมาในปี ค.ศ. 1835 เขาก็ได้ถูกว่าจ้างให้เป็น ช่างพิมพ์ ในกับหนังสือพิมพ์ ฉบับหนึ่งใน New York แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้เขาต้องย้ายกับไปอยู่ที่บ้านเกิด เพื่อไปเป็นครู สอนหนังสือ และคนทำฟาร์ม และในขณะที่เป็นครูสอนหนังสือนี้เองเขาได้เกิดความสนใจเกี่ยวกับงานหนังสือพิมพ์ด้วย ในปี ค.ศ. 1839 เขาได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ขึ้นฉบับหนึ่งคือ The Long Islander และหลังจากก่อตั้งได้เพียงปีเดียวเขา ก็ได้ขายกิจการ แล้วย้ายไปอยู่ New York อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้เขาก็ไม่ได้ประสพความสำเร็จ เขาจึงย้ายกลับไปอยู่ที่ Long Island อีก คราวนี้เขามาสอนหนังสือพร้อมทั้งทำงานให้กับ Long Island Democrat ใน Jamaica และในขณะเดียวกันเขาก็ ไดเขียนคอลัมน์ให้กับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งก็คือ คอลัมน์ Sun downer ค.ศ.1840 เขาได้รณรงค์ให้การสนับสนุนให้กับผู้ลงสมัครชิงตำแหนง Democratic Presidential ซึ่งก็คือ Martin Van Buren ในระหว่างปี ค.ศ 1841-1859 เขาได้เป็น บรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ต่างๆถึง 7 แห่ง และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ปี ค.ศ 1846 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นบรรณาธิการให้กับ หนังสือพิมพ์ Brooklyn Daily Eagle และในปี ค.ศ. 1848 เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งอันเนื่องมาจากการการแยกตัวออกจากพรรค Democratic ซึ่งเป็นผู้ให้การสนันสนุนหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ และด้วยหลายปีในการทำงานหลากหลายอาชีพ เช่น นัก เรียน นักพิมพ์ นักเขียน นักข่าว ช่างไม้ และ การเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ทำให้เขาเป็นนักประพันธ์ที่มีวิสัยทัศน์แบบสังคมในอุดมคติ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริง และอาจกว่าได้ว่าพรสวรรค์ของเขานั้นได้มาจากการที่เรียนรู้มาจาก โรงเรียนแห่งชีวิตจริงๆในปี ค.ศ. 1955 เขาได้เริ่มตีพิมพ์งานประพันธ์ชิ้นแรก ซึ่งมาจากประสพการณ์ส่วนตัวของเขาเองซึ่งก็คืองาน Leaves of Grass และก็มีงาน Edition ต่อมาของ Leaves of Grass ตามออกมาอีก ในระหว่างปี ค.ศ. 1855-1892 ได้มี Edition ต่างๆของ Leaves of Grass ทั้งหมด 9 Edition และทั้งหลายเหล่านี้ดูเหมือนว่า Edition ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ Edition ที่ 7 ในปี ค.ศ. 1892 เป็นที่ Whitman ตีพิมพ์ Leaves of Grass Edition ที่ 9 ออกมาเป็นชิ้นสุดท้าย และปีนี้เองก็ เป็นปีที่ Whitman ได้เสียชีวิตลง ในปัจจุบันนี้เราอาจกล่าวได้ว่า ผลงาน Leaves of Grass ของ Whitman เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญของโลกงานหนึ่ง และตัว Whitman เองนั้นก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น กวีคนสำคัญแห่งชาติอเมริกา ตัวอย่าง สาระสำคัญของ Leaves of Grass ที่ Whitman ได้ประกาศในผลงานของเขาคือ อเมริกากำลังกำจัดระบบศักดินาสวามิภักดิ์ที่สิ้นชีพไปแล้วในโลกเก่าและทรรศนะเก่าๆทางวัฒนธรรมที่คู่กันไปในระบบนี้ วัฒนธรรมของอเมริกาจะต้องเป็นวัฒนธรรม ของสามัญชนที่ใจรักประชาธิปไตย และคิดถึงเพื่อนร่วมชาติอย่างจริงใจโดยไม่ผูกพันกับแบบอย่างที่ล้าสมัยแล้ว ควรเป็นวัฒนธรรมของชนทั้งมวล มิฉะนั้นอย่ามีเลยเสียดีกว่า การไม่มีวัฒนธรรมนั้นยังน่าพิศมัยกว่าการหันกลับไปขุดค้นหาอดีตที่ ตายแล้วเสียอีก Walt Whitman ได้ชื่อว่าเป็น Prophet Of American Democracy คำประพันธ์ของเขาเป็นวัฒนธรรมของคนธรรมดาสามัญที่มีใจรักเสรีภาพ อิสรภาพและความเท่าเทียมกัน
อันดับที่ 6 ได้แก่ Langston Hughes
อันดับที่ 5 ได้แก่ Emily Dickenson Emily Dickenson กวีหญิงผู้หลงใหลความทุกข์และความตาย
อันดับที่ 4 ได้แก่ Robert Frost Robert Frost (ค.ศ. 1874-1963 ) เป็นกวีชาวอเมริกัน เกิดที่ San Francisco พ่อเป็นนักหนังสือพิมพ์ ส่วนแม่เป็นครู เข้าสูตรอาชีพยอดนิยม ยุคนั้น เพราะมีพ่อแม่ทำงานเกี่ยวกับหนังสือหนังหา เลยได้รับอิทธิพลทาง ความคิดจากวรรณกรรมดีๆแต่วัยเยาว์ ตามแบบฉบับ พออายุ 23 ปี ก็เรียน ต่อที่ Harvard ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก แต่สวรรค์ไม่เป็น ใจ กวีหนุ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ เลยต้องย้ายไปอยู่ชนบท โดยทำฟาร์มและ เป็นครูควบคู่กันไป. ผลงานเด่นๆที่พิมพ์รวมเล่มได้แก่ My Butterfly: An Elegy (1894), The Derry Years (1900-1911), A Boy’s Will (1913), North To Boston (1914) และ Mountain Interval (1916)
อันดับที่ 3 ได้แก่ William Wordsworth William Wordsworth เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี พ.ศ.2313 เข้าเรียนที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (St John’s College,Cambridge) ระหว่างที่เรียนอยู่นั้นได้เข้าร่วมการปฏิวัติฝรั่งเศส และเมื่อ เรียนจบจึงเดินทางไปท่องเที่ยวฝรั่งเศสและอิตาลีAn Evening Walk และ Descriptive Sketches ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2336 บทกวีของท่านส่วนใหญ่มักจะเป็น ในแนวโรแมนติก จนคนทั่วไปกล่าวถึงผลงานของท่านไว้ว่า เป็น EnglishRomanticpoet และผลงานเหล่านี้มักจะได้รับ แรงบันดาลใจมาจากความงดงามของทิวทัศน์ในธรรมชาติของ บ้านเกิดถิ่นกำเนิดของท่าน ในย่าน เลค ดิสทริค แห่งนี้นี่เอง วิลเลี่ยม เวิร์ดสเวิร์ธ ได้สร้างผลงานที่สวนกระแสบทกวีแนว โรแมนติก โดยการเน้นแสดง ความรู้สึกภายในของตัวตนนักกวีออก มาอย่างเป็นธรรมชาติ มากกว่าการเน้นกฎเกณฑ์ฉันทลักษณ์เดิมๆ ผลงานลักษณะนี้ได้แก่ บทกวีเรื่อง LYrical Ballads ในปี พ.ศ.2341 จุดเด่นในผลงานของวิลเลี่ยมอีกประการหนึ่งก็คือ การแสดงทัศนะ ต่อ ชีวิตในแนวจิตนิยม ซึ่งแสดงให้เห็นความเชื่อในเรื่องความ สัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างธรรมชาติและจิตวิญญาณของมนุษย์ ผลงานของกวีเอกชาวอังกฤษผู้นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ The Prelude, with a Few Other Poems เป็นต้น วิลเลี่ยม เวิร์ด สเวิร์ธได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกวีหลวงในปี พ.ศ. 2386 และ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 เมษายน ปี พศ 2393
อันดับที่ 2 ได้แก่ Edgar Allan Poe Edgar Allan Poe (1809-1849) เจ้าพ่อแห่งนวนิยายสยองขวัญยุคใหม่ เขาเกิดวันที่ 19 มกราคม ปี 1809 ณ เมืองบอสตัน ในวัยเด็ก เขาศึกษาทั้งที่รัฐเวอร์จิเนียและที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงปีท้ายๆ ของการศึกษาที่ เวสต์พอยท์ เขาเริ่มแสดงความสามารถทางการเขียนร้อยแก้ว จนเป็นที่ประจักษ์ เมื่ออายุ 15 เขาเขียนข้อความแสดงความระลึกถึงผู้ที่จากไป ซึ่งเป็นที่รู้จักกัน ในชื่อ "The requiem for the loveliest dead that ever died so young." หลังจากได้เป็นผู้ ช่วยบรรณาธิการที่ห้องสมุด Southern Literary Messenger เมืองริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย ในปี 1835 ได้ไม่นาน พรสวรรค์ทาง วรรณกรรมของเขาเริ่มเบ่งบาน มันเป็นช่วงเวลาที่เขากำลังตกหลุมรักกับญาติสาว วัย 13 ปี ผู้พำนักอยู่ในรัฐเวอร์จิเนียนั้น เอง พวกเขาแต่งงานกัน และนั่น ทำให้โป เริ่มค้นหาแหล่งสร้างรายได้เพื่อความมั่นคงของครอบครัว ต้นปี 1836 โปมีผลงานชื่อ Mournful and Never-Ending Remembrance ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โปทำงานประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปกับ การเป็นบรรณาธิการและคอลัมนิสต์อาชีพ บรรณาธิการของเขารุ่งเรืองไปพร้อมๆ กับอาชีพนักเขียน ระหว่างที่เขาทำงานใน ฟิลาเดลเฟียกับนิตยสาร Gentleman's Magazine ปี 1839 นั้น เขาก็ยิ่ง ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น งานของเขาเป็นที่รู้จัก และได้รับการยกย่องอย่าง กว้างขวาง The Fall of the House of Usher คือ นวนิยายสยองขวัญ ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของโปในเวลาต่อมา ในปี 1841 เอดการ์ อลัน โป เริ่มทำงานกับชายชื่อ George Graham ผู้เสนอ ให้โปเป็นบรรณาธิการโดย เสนอเงินให้เขา 800 ดอลล่าร์ต่อปี ระหว่างที่ทำงาน กับเกรแฮม โปก็เขียนงานของตนไปด้วย The Murders in the Rue Morgue คือ ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาได้มากที่สุด ผลงานชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์ในเดือน เมษายน 1841 มี Auguste C. Dupin ตัว เอกของเรื่องเป็นนักสืบ และผลงาน ชิ้นนี้ยังถือได้ว่าเป็นนวนิยายนักสืบเรื่องแรกอีกด้วย นอกจากนี้ โปยังมีนวนิยาย สยองขวัญอีกสองเรื่อง คือ The Tell-Tale Heart แ ละ The Pit and The Pendulum จนกระทั่งปี 1845 The Raven บทกวีที่มีชื่อ เสียงที่สุดของเขา จึงได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1847 ภรรยาของโปเสียชีวิตลงด้วยวัณโรค ความโศกเศร้า ทำให้โปพยายามฆ่าตัวตายหลังการจากไปของเธอ เขาเขียนข้อความเอาไว้ว่า "Deep in earth my love is lying and I must weep alone." โลกแห่งความรักของฉันได้จากไปแล้ว และฉันต้องเศร้าโศกแต่เพียงผู้เดียว ปีถัดมา ชีวิตของโปก็ยิ่งย่ำแย่ลงกว่าเดิม เขาพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง และ นั่นยังทำให้เขาต้องสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน โปเสียชีวิตเมื่ออายุ 40 ปี ใน เดือนตุลาคม ปี 1849 ที่บัลติมอร์ ซึ่งสาเหตุการตายสันนิษฐานว่าเป็นผลจากการ ดื่มเหล้าจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลงานชิ้นหนึ่งของเขาเขียนเอาไว้ว่า "การตายในครั้งนี้ คือการฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายที่ใช้เวลาเตรียม การเป็นเวลายาวนาน" จาก Edgar A. Poe: Mournful and Never-Ending Remembrance อย่างไรก็ตาม แม้ชีวิตของนักเขียนผู้นี้จะแสนสั้นและน่าเศร้า แต่ เอดการ์ อลัน โป ก็ยังเป็นที่จดจำมาจนถึงทุกวันนี้ว่า เขาเป็นหนึ่งในสุดยอดนักเขียนแนวสยอง ขวัญในประวัติศาสตร์วง การวรรณกรรม
อันดับที่ 1 ได้แก่ William Shakespeare วิลเลียม เชกสเปียร์ (อังกฤษ: William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616[1]) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของ อังกฤษและของโลก[2] มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด[3] เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1585-1592 เขาประสบความสำเร็จในการเป็นนักแสดงในกรุงลอนดอน รวมถึงการเป็นนักเขียน ได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในคณะละครลอร์ด เชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain's Men) ซึ่งในภายหลังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ King's Men เชกสเปียร์เกษียณตัวเองกลับไปยังสแตรทฟอร์ดในราวปี ค.ศ. 1613 และเสียชีวิตในอีกสามปีต่อมา ไม่ค่อยมีบันทึกใดเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของ เชกสเปียร์มากนัก จึงมีทฤษฎีมากมายที่คาดกันไปต่างๆ นานา เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ความเชื่อทางศาสนา และแรงบันดาลใจในงานเขียนของเขา[4] ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเชกสเปียร์ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1590 ถึง 1613 ในยุคแรกๆ บทละครของเขาจะเป็นแนวชวนหัวและแนวอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางบทละครที่เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาเขาเขียนบทละครแนวโศกนาฏกรรมหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง แฮมเล็ต King Lear และ แม็คเบธ ซึ่ง ถือว่าเป็นบทละครตัวอย่างชั้นเลิศของวรรณกรรมอังกฤษ ในช่วงปลายของการทำงาน งานเขียนของเขาจะเป็นแนวสุข-โศกนาฏกรรม (tragicomedies) หรือแนวโรมานซ์ และยังร่วมมือกับนักเขียนบทละครคนอื่นๆ อีกมาก บทละครของเขาตีพิมพ์ เผยแพร่ในหลายรูปแบบโดยมีรายละเอียดและเนื้อหาต่างๆ กันตลอดช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ ในปี ค.ศ. 1623 เพื่อนร่วมงานสองคนในคณะละครของเขาได้ตีพิมพ์หนังสือ "First Folio" เป็นการรวบรวมงานเขียนของเขาขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้บรรจุบท ละครที่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นงานเขียนของเชกสเปียร์เอาไว้ทั้งหมด (ขาดไปเพียง 2 เรื่อง) ในยุคสมัยของเขา เชกสเปียร์เป็นกวีและนักเขียนบทละครที่ได้รับการยกย่องอยู่พอตัว แต่เขาได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงเช่นในปัจจุบันนี้นับตั้งแต่ราวคริสต์ ศตวรรษที่ 19 กวียุคโรแมนติกยกย่องนับถือเชกสเปียร์ในฐานะอัจฉริยะ ขณะที่กวียุควิคตอเรียเคารพนับถือเชกสเปียร์อย่างยิ่ง กระทั่ง จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ เรียกเขาว่า Bardolatry[5] (คำยกย่องในทำนอง "จอมกวี" หรือ "เทพแห่งกวี") ในคริสต์ ศตวรรษที่ 20 มีการดัดแปลงงานประพันธ์ของเขาออกไปเป็นรูปแบบแนวทางใหม่ๆ โดยเหล่านักวิชาการและนักแสดงมากมาย ผลงานของเขายังคงเป็นที่นิยมอย่างสูงจนถึงปัจจุบันและมีการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ในทุกประเทศทุกวัฒนธรรม ทั่วโลก
แหล่งที่มา
http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20131108170000271
ตัวหนังสือเยอะไป แต่เนื้อหาน่าสนใจนะคะ
ตอบลบ